วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560

เรียนจีน พินอิน

พยัญชนะ (พินอิน)
พยัญชนะคือเสียงนำที่ขึ้นต้นในแต่ละพยางค์ ในภาษาจีนกลางมีพยัญชนะทั้งหมด 23 เสียง ได้แก่

b (ปัว)  p (พัว) m (มัว) f (ฟัว) 
d (เตอ) t (เทอ)    n (เนอ)   l (เลอ)
g (เกอ)    k (เคอ)   h (เฮอ)
j (จี)      q (ชี)   x (ซี)
zh (จรือ)  ch (ชรือ) sh (ซรือ)  r  (ยรือ)
z(จือ)     c (ชือ)  s (ซือ)    
y (ย) w (ว)

สระ (พินอิน)
สระหมายถึงเสียงที่ออกตามหลังพยัญชนะในแต่ละพยางค์ สระในภาษาจีนแบ่งออกเป็นเสียงสระล้วนและเสียงที่ประกอบขึ้นจากเสียงสระเป็นหลัก(เนื่องจากระบบเสียงภาษาจีนกลางได้รวมเอาเสียงตัวสะกดไว้กับเสียงสระ สระประเภทนี้จึงหมายถึงเสียงสระที่ประสมรวมกับเสียงสะกด ซึ่งเทียบได้กับเสียงตัวสะกดแม่กน /n/ และแม่กง/ng/ ในภาษาไทย) สระจำนวนหนึ่งสามารถประสมกันกลายเป็นสระประสม และเมื่อเรานำสระมาประสมไว้หลังพยัญชนะก็จะกลายเป็นพยางค์ในระบบสัทอักษรพินอิน ในภาษาจีนกลางมีสระทั้งหมด 36 เสียง ได้แก่

สระเดี่ยว
a (อา)  o (ออ)  e (เออ)  i (อี)  u (อู)  ü (อู+วี)

สระผสม (สระที่มีเครื่องหมายบวกคือ ให้ควบเสียงกับตัวหลัง)
 ai (ไอ)        ei (เอย)     ui (อวย)      ao (เอา)    ou (โอว)     iu (อิว)        ie (เอีย+เอ) 
üe (อูว+เอ)  an (อาน)    en (เอิน)      in (อิน)    un (อูน)       ün (อู+ยูน)  ang (อาง)
eng (เอิง)     ing (เอิง)    ong (อง)     er (เออร์)  ia (เอีย+อา) iao (เอียว)   ian (เอียน)
iang (เอียง)  iong (อี+โอง)    ua (อัว)  uo (อัว+ออ)  uai (ไอว)  uan (อวาน)  uang (อวาง) 
ueng (เอวิง)  üan.(เอวียง)


ตารางแสดงการผสมเสียง 
Image result for เรียนจีน พินอิน